Digital Photo เจนเอด ยอดฮิต ติดเอ


2313213 วิชาการถ่ายภาพดิจิทัล หรือที่รู้จักกันในนาม Digital Photo วิชาเจนเอด (Gen-ed หรือ General Education) ยอดฮิตของเด็กจุฬาฯ ที่ทุกคนได้ยินกิติศัพท์และต่างก็ทำสงครามเพื่อลงทะเบียน   เพื่อที่จะได้เรียนวิชานี้ วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกหลักสูตรถึงเนื้อหารายสัปดาห์และรวบรวมความคิดเห็นต่างๆ จากนิสิตที่เคยเรียน  

การเรียนการสอนในห้องเป็นอย่างไร?

วิชานี้ส่วนใหญ่เน้นไปที่การออกทริปในแต่ละครั้ง ไม่ได้เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียนเหมือนวิชาทั่วไป โดยผู้เรียนจะต้องออกทริปอย่างน้อยหนึ่งครั้งและมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,100 บาท ต่อคน และผู้เรียนจะต้องส่งภาพถ่ายอย่างน้อยสิบชิ้นตามหัวข้อต่อไปนี้

1. Line เส้นสายในภาพ หากสามารถดึงเส้นลายต่างๆ ไม่ว่าจะเส้นโค้ง เส้นตรง ทำให้โดดเด่นในภาพได้ถือว่าเข้าใจหัวข้อนี้


ภาพที่ 1 ที่มา: http://digital-photography-school.com/converging-lines/

         ภาพที่ 2 ที่มา: http://digital-photography-school.com/converging-lines/

   ภาพที่ 3 ที่มา: https://www.pinterest.com/pin/318840848592576595/

2. Shape 2D รูปร่างรูปทรงที่มีลักษณะสองมิติ ไม่ว่าจะเป็นวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นต้น ถึงแม้จะเป็นของแบนๆ แต่ต้องสามารถแสดงออกให้เป็นที่น่าสนใจได้
                                    ภาพที่ 4 ที่มา: http://super.nova.org/DPR/Creating3D/
ภาพที่ 5 ที่มา:

http://www.trekearth.com/gallery/Europe/Spain/Catalonia/Barcelona/Barcelona/photo1380443.htm

3. Form 3D รูปลักษณ์มีลักษณะสามมิติ ที่แสดงให้เห็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุชิ้นนั้น

                                                ภาพที่ 6 ที่มา: https://shuttermanic.wordpress.com/

ภาพที่ 7 ที่มา: http://www.aaronusher.com/artist.html


4. Texture พื้นผิว


5. Pattern หรือลวดลาย รูปแบบซ้ำๆ ของวัตถุในภาพสามารถนำมาให้เกิดประโยชน์หรือน่าสนใจเพิ่มขึ้นได้

ภาพที่ 10 ที่มา: http://slodive.com/inspiration/family-pictures-ideas/



6. Color สีสัน



7. Rule of Thirds กฎสามส่วน
     ภาพที่ 13 ที่มา: http://abduzeedo.com/superb-rule-thirds-photography
            8. Leading Line เส้นนำสายตา     
ภาพที่ 15 ที่มา: https://www.pinterest.com/trueltyl0/leading-lines/
ภาพที่ 16 ที่มา: https://www.pinterest.com/pin/209769295115274184/
9. Point of view มุมมองไม่ธรรมดา

ภาพที่ 17 ที่มา: https://www.flickr.com/photos/federic73/3119906365/sizes/m/

ภาพที่ 18 ที่มา: http://www.robinoneillphotography.com/ACTION/paved/9/


10. Combo นำองค์ประกอบที่เรียนมา มาผสมรวมอยู่ในภาพเดียว
ภาพที่ 19 ที่มา: https://iso.500px.com/best-of-2015-top-10-landscape-photos/







คำวิจารณ์จากคนที่เคยเรียน


วิจารณ์#1
วิชานี้ลงเซคไหนก็เหมือนกันเพราะอาจารย์คนเดียวกันทุกเซคคืออ.หลวง รับเยอะแต่ลงยังไงให้ติดเนี่ยสิยากสุดๆ แต่ลงไม่ได้ไม่ต้องเสียใจก็คือไปขอลงเรียนแบบไม่เอาหน่วยกิตก่อนก็ได้พอเทอมไหนเราลงทะเบียนได้ปุ๊บอ.จะเอาเกรดใส่ให้เลย การเข้าเรียน*ควรเข้าคาบแรก*เพราะจะได้รู้รายละเอียดการส่งงานและการไปทริปถ่ายรูป คาบต่อมาอ.จะมีบัตรเลขcrให้(100บาท) คาบต่อๆไปถ้าไม่อยากเข้าก็ฝากเพื่อนเช็คไป ทริปช่วงเปิดเทอม2ที่เราเรียนมี3ทริป คือ ภูกระดึง(ไม่เสียค่าใช้จ่าย) น้ำหนาว(2,000บาท) อยุธยา(1,000บาท) วิชานี้ก็อย่างว่าแค่เช็คชื่อให้ครบ5ครั้ง,ไปทริปถ่ายรูปและส่งรูปตามหัวข้อ10รูป แค่นี้ก็ได้Aแล้วค่ะ
ให้คะแนน Gen-Ed: 10/10 (ใบไม้ 2558)


วิจารณ์#2
ก่อนอื่นเกริ่นอีกแล้วว่าเราเรียนตั้งเเต่ปี 1 เทอม 1 ปีการศึกษา 2555
ตอนนั้นสมัยเรามี 2 เซค เราเรียนเซคอาจารย์หลวง ที่ตลกๆ เเต่จริงจังก็จริงจัง
ตอนนั้นเราจำได้แค่ว่าเราไม่เข้าเรียนเลย ไม่เลย จริงๆ ตอนนั้นมีให้เลือกคือให้ไปทริป ละถ่ายรูป 10 หัวข้อส่ง ก้อประเมินเกรดจากนั้นได้เลย เเต่เราดันไม่ไปทริป เลยต้องส่งรูแป 30 หัวข้อแทน ซึ่งที่รู้ๆมารุสึกว่าตอนนี้ไม่ใช้วิธีเรียนแบบนี้แล้วนะ ลองถาคนอื่นดูอีกที ปลวิชานี้เซคเราตอนนั้นไม่มีสอบกลางภาคหรือปลายภาคเลยนะ เอ้อ เเต่เเม้ว่าเราจะส่งรูป หัวข้ออ่ะ เราก้อได้เอนนะ ไม่ได้ยากขนาดนั้น รูปแต่ละรุปส่งไปในดรอปบ๊อกซ์ เดี๋ยวจารย์เค้ารีวิวให้เราแก้เองถ้ามันไม่ดี ถามว่าหัวข้อคืออะไร หัวข้อการถ่ายรูปก็อย่างเช่น ภาพถ่ายระยะใกล้มาโคร ภาพทิวทัศน์ ภาพtexture ภาพแอปสแทรค อะไรแบบนี้ โดยรวมเราว่าวิชานี้ตอนนั้นเราลงไปเอาเกรด ตามพี่ๆเค้าบอกมา เเต่เราก้อชอบถ่ายรูปด้วยแหละส่วนหนึ่ง เเต่เราว่าเราไม่ได้อะไรเลย เพราะเราไม่ได้เข้าเรียนเลย เเล้วก้อเราไม่ได้เป็นคนเล่นกล้องอะไรขนาดนั้น เราเลยไม่ไ้ด้อินทูเเละได้ความรู้ขนาดนั้น เราใช้เเค่กล้องคอมแพคธรรมดาๆเอง ซึ่งเทคนิคส่วนใหญ่มันใช้กับพวกกล้องใหญ่ กล้องดีๆมากกว่าที่อาจารย์สอนอ่ะ ก้อนั่นแหละ คิดดูละกันนะ 5555
ให้คะแนน Gen-Ed: 7/10(มิวลิม 2558 )



วิจารณ์#3
วิชานี้เป็นวิชาเพิ่งเปิดใหม่สด ๆ ภาคการศึกษา 2/2552 เลย สอนโดย อ.ชวาล คูร์พิพัฒน์ (CKP) ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ โดยคาบแรก ๆ จะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานที่จำเป็นต้องรู้หากสนใจการถ่ายภาพในระดับให้ออกมาสวยโดยไม่หวังพึ่งดวงแบบกดมั่ว ๆ เผื่อสวย หลักการพื้นฐานที่ว่าก็เช่น วิธีใช้กล้อง การเปิดรับแสง ความไวแสงของกล้อง อุณหภูมิของสี ความชัดลึกของภาพ ผลของทิศทางแสงต่อภาพ เป็นต้น หลังจากนั้นก็จะเป็นการบรรยายโดยช่างภาพที่มีชื่อเสียงของไทยซึ่งหลายท่านก็เป็นคนรู้จักหรือเพื่อนของอาจารย์เองนั่นแหละ เช่น - .อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง ช่างภาพโฆษณาอันดับ 1 ของโลกโดยนิตยสารโฆษณาที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดของโลกชื่อArchive และเป็นเจ้าของสตูดิโอ Remix Studio Bangkokรวมทั้งเป็นหนึ่งในช่างภาพในโครงการ 9 Days in the Kingdom ด้วย - .วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติปี2552 สาขาภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ กว่า 2000 รางวัลทั่วโลก หลาย ๆ ภาพของอาจารย์คว้ากว่า 50 รางวัลต่อภาพเลยทีเดียว - พี่ธนบูรณ์ สมบูรณ์ ช่างภาพแฟชั่นชั้นแนวหน้าของประเทศไทยที่ถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดังหลายเล่มเช่นRay, Cawaii, Marie Claire, Her World, Seventeen, Honeymoon+Travel รวมถึง FHM, Mars, Stuff (ไม่ได้เอามาให้ดูหรอกนะ อย่าเพิ่งฝันหวานไปไหนและยังเป็นเจ้าของportfolios.net ด้วย - พี่วราณ สุวรรณโณ หรือที่รู้จักกันในชื่อRBJ แห่งเว็บ pixpros.net ช่างภาพธรรมชาติชั้นเซียนที่เป็นเจ้าของภาพในโครงการ 12เดือน 7ดาว 9ตะวัน ของ ททท.เกือบทั้งหมด เป็นต้น แค่ค่าตัววิทยากรรับเชิญที่มาบรรยาย ก็เกินค่าเทอมไปไกลแล้วหละ ถ้าบรรยายข้างนอก ชั่วโมงนึงเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ตอนใกล้จบคอร์สก็จะเป็นอ.ชวาลสอนเองอีกครั้ง แต่ครั้งนี้จะสอนการแต่งภาพแทน เช่นการแก้ขอบม่วงขอบแดงของเลนส์ (chromatic aberration) แก้ความบิดเพี้ยนของเลนส์มุมกว้าง (barrel distortion) ลดสัญญาณรบกวนในภาพ(colour noise) รวมถึงเรียนเกี่ยวกับ ความลึกของบิตสี (colour bit depth) และเรื่องของ colour profile เป็นต้น อ่านมาถึงตรงนี้น้องอาจจะงงกับศัพท์เทคนิคจำนวนมากย อยากบอกว่าเดี๋ยวเรียนไปก็รู้จักและเข้าใจเอง แค่ชื่อเรียกมันอลังการก็เท่านั้น การเก็บคะแนนส่วนใหญ่มาจากงานที่จะมีทุกอาทิตย์ งานที่สั่งก็เช่น ถ่ายภาพ portrait, landscape, macro ทำภาพ HDR, panorama เป็นต้น ความตรงเวลาสำคัญมาก อาจารย์บอกว่าส่งตรงเวลาได้ 4 ถ้าสวยก็เอาไป 5 แต่ถ้าส่งช้า จะสวยไม่สวย ก็ได้ 3 สอบมิดเทอมกับไฟนอลคะแนนไม่มากนักแต่ข้อสอบก็ไม่ยากเกินไป ท้ายสุดคือมีออกทริปกัน 1 ครั้ง ไม่บังคับ ที่ผ่านมาไปกันที่สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 2วัน 1คืน (P’exFictitiouZ[ม.ป.ป.]



วิจารณ์#4
อยากจะบอกว่าเป็นวิชาที่ได้ครบทุกอารมณ์ โหด มันส์ ฮา เหนื่อย ท้อ เศร้า เครียด ส่งงานเกือบไม่ทัน ปั่นวันสุดท้าย งานจุกตูด ตกใจ สนุก ขำ มึน ตื่นเต้น เร้าอารมณ์ คั่ว มั่ว ซั่ว รวมอยู่ในวิชานี้ และไม่เหมาะอย่างยิ่งกับคนที่จะเอาชิวและหวังเออย่างพี่ เพราะว่ามีงานส่งทุกสัปดาห์ ซึ่งก็คือถ่ายรูปมาส่งทุกครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็จะต้องออกไปหารูปดีๆเช่น ให้ไปถ่ายไฟตอนกลางคืนสวยๆ ซึ่งใช้เวลามาก บางทีถ่ายเสร็จแล้วกลับมาดูแล้วไม่สวยก็ไปถ่ายใหม่ เสียเวลามากๆ แต่เวลาเรียนนี่ชิวสุดๆเลย ไม่มีเช็คชื่อ แต่วิชาเรียนน่าสนใจมากๆ อาจารย์เก่งมวากๆ ใจดีโฮกกกกก เชิญวิทยากรแต่ละคนที่มาพูดตัวเป้งๆของประเทศทั้งนั้น ติสแตกกันหมด ส่วนใหญ่เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตในวงการถ่ายภาพ เห็นภาพแต่ละภาพแล้วซี๊ดดดดด เลนส์ใช้แพงเวอร์ๆแบบที่เราไม่มีทางถ่ายตามได้ ดูเอามันส์ เอาฮา เป็นช่วงเวลาที่มีความสุข เป็นวิชาที่อาจจะต้องลงทุนนิดหน่อย เพราะว่ากล้อง compact ใช้ได้ไม่่ค่อยดีเท่าไร เช่น ถ้าถ่ายนกcompact นี่แทบจะไม่ได้รูปเลย ถ้าไม่มีงบจริงๆก็หาคนที่มีกล้องในคณะแล้วยืมเอา มีค่าเดินทางนอกสถานที่บาง มีไปถ่ายนอกสถานที่ประมาณ 2 ครั้งแต่จะไม่ไปก็ได้แต่ต้องมีรูปส่ง ไปถ่ายรูปนอกสถานที่เหนื่อย มันส์ สนุกมากๆ รู้สึกคุ้มค่าที่ไปทริปถ่ายรูป
แต่วิชานี้ไม่เหมาะกับคนที่จะลงเอาเกรดอย่างมากๆ ควรมีใจรักที่จะถ่ายรูปไม่งั้นจะเริ่มเบื่อตอนท้ายๆ ข้อสอบปลายภาคยากระดับหนึ่ง ไม่ค่อยมีคนทำได้เท่าไร
(Peranut157[ม.ป.ป.])



วิจารณ์#5
วิชานี้เป็นวิชาที่เรียนแล้วมีความสุขที่สุดในเทอมนี้ของพี่เลยอะ5555 งานวิชานี้ไม่มีไรมาก ถ่ายรูปส่งอาทิตย์ละรูป ยกเว้นรูปนกที่ให้ส่ง2รูป แล้วก็รูปทริปที่ให้ส่ง4รูป เรียนสบายสุดๆ ไม่ต้องเข้าก็ได้ แค่ส่งงานก็พอ แต่พี่แนะนำให้เข้านะ เพราะเค้าจะมีวิทยากรมาบรรยายอ่า ซึ่งเป็นคนที่มีประสบการณ์เรื่องการถ่ายรูป(ดังด้วยไม่ได้เป็นการสอนถ่ายหรอกนะ มันเป็นการทำให้น้องมีกระบวนการคิดในการถ่ายมากกว่าอะ เอาเป็นว่าถ้าสงสัยไรก็มาถามพวกพี่ๆอีกทีแล้วกัน สำหรับคนที่รักกล้องมากๆพี่แนะนำสุดๆ ปลรูปบุคคลอะ น้องไม่ต้องเลือกคนสวยนะ เอาแบบใครก็ได้แต่ถ่ายแล้วภาพสวยอะ พี่สังเกตว่าคนที่เลือกคนสวยไม่ได้5ซักคน(รวมทั้งพี่ด้วย- -)(slaom[ม.ป.ป.])



วิจารณ์#6
วิชาDigital photo
วิชานี้เป็นวิชาที่ลงทะเบียนยากมาก แต่สำหรับนักกีฬาสามารถขอลงได้ วิชานี้เรียนเกี่ยวกับการถ่ายภาพขั้นเบสิค เรียนง่ายๆสบายๆไม่ต้องมีกล้องก้เรียนได้ แค่ใช้กล้อง iphone ก็สามารถทำงานส่งได้แล้ว วิชานี้มีค่าใช้จ่ายในการไปทริปถ่ายภาพ งานที่จะทำให้ได้เอ แค่ถ่ายรูปส่งตามกำหนดให้ทัน ให้ครบตามจำนวนภาพแค่นี้ก้ได้เอแล้ว เป็นวิชาที่พอใจจะเรียนก้เรียนอาจารย์ไม่ง้อเพราะคนจะลงเยอะมาก ลงให้ทันยังไงเอแน่นอน(แพรวพลอย ผลพาณิชย์, สัมภาษณ์)

สื่อที่ใช้ในการเรียนรู้


เอกนฤน บางท่าไม้. การจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายภาพ. นนทบุรี: ไอดีซีพรีเมียร์, 2556

            หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้ในการจัดวางองค์ประกอบของภาพถ่ายตั้งแต่พื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นจุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักและพื้นผิว และกล่าวถึงการมองวัตถุให้เป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อที่จะช่วยให้การจัดองค์ประกอบภายในภาพทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมี Tips เล็กน้อยจากประสบการณ์ของผู้เขียนต่อการจัดองค์ประกอบภาพที่นักถ่ายภาพมักจะมองข้ามอีกด้วย เนื้อหาโดยรวมของหนังสือเล่มนี้ถือว่าตรงกับความรู้ที่ต้องนำไปใช้ในการถ่ายภาพส่งงานในแต่ละครั้ง นอกจากนั้นสำนวนภาษาก็ยังอ่านง่าย มีรูปภาพประกอบชัดเจนทุกหน้าและเป็นภาพสีทั้งเล่ม

            สุรพงษ์ บัวเจริญ. องค์ประกอบศิลป์สำหรับนักถ่ายภาพ. กรุงเทพมหานคร: เอ็มไอเอส, 2554


            นองจากจะกล่าวถึงองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะอันได้แก่ จุด เส้น ลวดลาย พื้นผิว เป็นต้น ยังกล่าวถึงเทคนิคต่างๆ ในการสร้างสรรค์มุมมองของภาพ การสร้างความโดดเด่นภายในภาพ และองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะอีกด้วย ข้อดีของหนังสือเล่มนี้คือจัดแบ่งหมวดหมู่ชัดเจนและวางรูปแบบตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงขั้นยาก

เดี๋ยวนี้การถ่ายภาพจะง่ายขึ้นไปอีก แค่มี camera 51 แอพช่วยในการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ที่ทุกคนมีอยู่แล้ว การใช้งานง่ายๆ แค่หันไปตามไอคอนมือถือที่ปรากฏบนหน้าจอเท่านั้น ซึ่งเป็นมุมภาพที่ระบบแนะนำว่าดีที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้ทั้งระบบ ios และ android อีกด้วย ข้อเสียของการใช้แอพนี้คือเราอาจจะไม่เกิดการเรียนรู้ในด้านองค์ประกอบการถ่ายภาพอย่างแท้จริง เพราะแอพจะจัดการมุมให้เราเลย
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. การถ่ายภาพดิจิทัล.  กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2553. 



      เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับอ่านเพิ่มเติมเพราะภายในหนังสือเล่มนี้ ได้เขียนความหมายและความสำคัญของการถ่ายภาพรวมถึงการสื่อสารผ่านรูปภาพด้วย มีประวัติความเป็นมาของการถ่ายภาพ ประเภทของกล้องถ่ายภาพ ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ หลักการถ่ายภาพเบื่้องต้น จนถึงการถ่ายภาพไปใช้ในการผลิตสื่อ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเหมาะสมกับวิชานี้เพราะมีการสอนถ่ายภาพสัตว์และบุคคลตามหัวข้อในการส่งงานของวิชานี้ในเรื่องของภาพถ่ายแบบ Form 3D
ณัฐกร สงครม. การถ่ายภาพ เทคนิคและการนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: 
                    สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหา รายละเอียด ที่ครอบคลุมในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล โดยศึกษาถึงหลักเบื้องต้นเกี่ยสกับทฤษฎีการถ่ายภาพ ความรู้เรื่องกล้องและอุปกรณ์การถ่ายภาพ รวมทั้งกระบวนการถ่ายภาพ กาจัดการไฟล์ภาพ การจัดสี และเทคนิคการตกแต่งภาพ ภายในหนังสือเล่มนี้ยังมีสารบัญรูปภาพ รวบรวมตัวอย่างภาพถ่ายจำนวนมาก เล่มนี้เหมาะกับหัวข้อส่งงาน การถ่าภาพแบบ Color การถ่ายภาพที่มีสีสัน
           
                 

บรรณานุกรม

ณัฐกร สงครม. การถ่ายภาพ เทคนิคและการนำไปใช้เพื่อการสื่อสารกรุงเทพมหานคร: 
                    สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. การถ่ายภาพดิจิทัล.  กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2553. 
สุรพงษ์ บัวเจริญ. องค์ประกอบศิลป์สำหรับนักถ่ายภาพ. กรุงเทพมหานครเอ็มไอเอส,2554
เอกนฤน บางท่าไม้. การจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายภาพ. นนทบุรีไอดีซีพรีเมียร์,2556

ข้อมูลผู้จัดทำ

1. นางสาว ณิชารีย์ ทองช้อย
ติดต่อ
 E-mail : nichareetongchoiy@gmail.com
2. นางสาวปิยธิดา ภู่ตระกูล
ติดต่อ
E-mail : piyatida_hi@hotmail.com